ปทุมธานี เปิดรพ.สนามธรรมศาสตร์รอบใหม่ รับผู้ป่วยโควิด-19ส่งต่อจากโรงพยาบาล8จังหวัด

buy Gabapentin for dogs online เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 7 มกราคม 2564 ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานการรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้ร่วมเปิดกิจกรรม “สามัคคีที่ปทุม” ประกาศพร้อมรับผู้ป่วยโควิด-19 เปิดโรงพยาบาลสนาม 308 เตียง และร่วมมือกับทุกโรงพยาบาลในปทุมธานี และทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 4 (รวม 8 จังหวัด) ประกอบด้วยจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา และรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในเครือข่าย UHOSNET ซึ่งในพื้นที่ กทม. ประกอบด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ในการรับส่งต่อผู้ป่วย Covid-19 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ พร้อมมอบหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ N95 จำนวน 22,000 ชิ้น ให้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดปทุมธานี
รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เตรียมความพร้อมรองรับการระบาดระลอกที่สองของ covid-19 มาตลอดกว่าหกเดือน ขณะนี้โรงพยาบาลได้จัดเตรียมห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU.) สำหรับผู้ป่วย covid-19 ที่มีระบบควบคุมความดันลบอากาศไว้มากถึง 24 ห้อง และในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โรงพยาบาลสามารถขยายศักยภาพโดยเปิดให้บริการ ICU สำหรับ covid-19 ได้รวมเป็น 48 ห้อง ICU ที่มีระบบควบคุมความดันอากาศ สำหรับผู้ป่วย covid-19 ที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ต้องรับการรักษาใน ICU โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้เตรียมหอผู้ป่วยที่มีการควบคุมการติดเชื้อไว้รองรับได้อีกจำนวน 50 เตียง ซึ่งมีทั้งห้องแยกควบคุมความดันอากาศ และ Cohort ward โดยแยกพื้นที่ควบคุมโรคสำหรับผู้ป่วย covid-19 ออกจากหอผู้ป่วยปกติอย่างชัดเจน
นอกจากจากนี้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้รับพระราชทานห้องตรวจคัดกรองการติดเชื้อความดันลบศักยภาพสูง (negative pressure) หรือ swap unit จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยผ่านมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 3 ยูนิต พร้อมด้วยอุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีศักยภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่า องค์กรการกุศล ภาครัฐและเอกชน จำนวนมาก ในการสนับสนุนและการบริจาคเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อาทิ หน้ากากป้องกันการติดเชื้อ N95 อุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์, ชุด PPE, PAPR และระบบเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีศักยภาพสูง อีกทั้งโรงพยาบาลที่มีอาจารย์แพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานอยู่เกือบ 500 คน รวมทั้งพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาลจำนวนมากกว่า 2,000 คน ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์รองรับสถานการณ์ covid-19 มาแล้ว อีกทั้งมีเจตจำนงแน่วแน่ที่จะดูแลผู้ป่วย covid-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกจังหวัดทั่วประเทศขณะนี้ ดังนั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจึงได้ประกาศสถานการณ์วิกฤต covid-19 และจะมุ่งมั่น ทุ่มเทกำลัง ทุ่มเทสติ กำลังแรงกายแรงใจ ตลอดจนระดมสรรพกำลังของบุคลากรทั้งหมดมาเพื่อรองรับสถานการณ์นี้ เพื่อให้ประชาชนทั้งจังหวัดปทุมธานีและในเขตสุขภาพที่ 4 มีความมั่นใจในระบบสาธารณสุขและเชื่อมั่นไว้วางใจว่า แม้จะเกิดการติดเชื้อเจ็บป่วยมากเพียงใดจากการระบาดของ covid-19 ก็จะมีสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงไว้สำหรับดูแลรักษาอาการป่วย
ด้วยเหตุผลและความพร้อมของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ และโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ มีซึ่งมีศักยภาพเพียงพอเพื่อรองรับวิกฤต covid-19 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ จึงขอประกาศต่อโรงพยาบาลของรัฐทั่วทุกแห่งในจังหวัดปทุมธานีที่มารวมกันในวันนี้ว่า หากมีผู้ป่วย covid-19 ที่เกินกว่าศักยภาพของโรงพยาบาลอำเภอและโรงพยาบาลจังหวัดดูแลได้ ทั้งในแง่ความรุนแรงของโรคและจำนวนของผู้ป่วยทุกโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดปทุมธานีและทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 4 สามารถส่งต่อ (refer) ผู้ป่วย covid-19 มายังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อผู้ป่วย (refer) ข้ามเขตหรือข้ามสังกัดก็ตาม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ พร้อมรับการส่งต่อผู้ป่วย covid-19 ทุกวันตามเงื่อนไขทางการแพทย์ที่กำหนดไว้ และแจ้งประสานให้ทุกโรงพยาบาลของรัฐได้รับทราบในวันนี้
ทั้งนี้การประกาศรับส่งต่อผู้ป่วย covid-19 จากทุกโรงพยาบาลในจังหวัดปทุมธานีและในเขตสุขภาพที่ 4 ในครั้งนี้ เป็นการแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรในวิชาชีพทางการแพทย์ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดใด การเผชิญวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศครั้งนี้จึงเป็นที่มาของกิจกรรม “สามัคคีที่ปทุม” ซึ่งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้รับบริจาคทั้งเงินและอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ในช่วงการระบาดรอบแรกจำนวนมากและได้มีการส่งมอบเวชภัณฑ์อุปกรณ์การตรวจรักษา ยานพาหนะ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมากให้แก่โรงพยาบาลในจังหวัดปทุมธานี โดยในครั้งนี้ (ครั้งที่ 3) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้ส่งมอบหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ N95 จำนวน 22,000 ชุด ให้แก่โรงพยาบาลของรัฐ 9 แห่ง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี เป็นกลุ่มแรกในการระบาดรอบที่สองนี้
ทั้งนี้ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ 308 เตียง จะเริ่มรับผู้ป่วย covid-19 ที่มีอาการน้อยเข้าดูแลรักษาพยาบาลเป็นรายแรก ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 เป็นต้นไป โดยจะใช้สถานที่เดิมที่เคยเปิดดำเนินการโรงพยาบาลสนามมาแล้ว คือที่อาคาร D-LUXX ด้านหลังของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นอาคารโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์
การดำเนินการทั้งหมดนี้ของชาวธรรมศาสตร์เป็นไปด้วยความยินดีพร้อมเพรียงกับของบุคลากรชาวธรรมศาสตร์และชาวโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นทรัพยากรและค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เองทั้งสิ้น ตามปณิธานที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ปรารภไว้เมื่อเสด็จมาวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เมื่อ 33 ปีที่แล้วว่า “ในอนาคตโรงพยาบาลแห่งนี้จะเป็นที่พึ่งของผู้คนทั่วไป ทั้งใกล้และไกลจากโรงพยาบาลนี้” ซึ่งเป็นแนวทางที่ชาวโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ยึดถือปณิธานหลักในการบริหารจัดการโรงพยาบาลนี้เสมอมา.