โรงไฟฟ้าราชเดินหน้ารับฟัง ปชช.ขยายกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม

purchase Quetiapine pay pal without rx วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ที่วัดศาลาแดงเหนือ ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี นายกานต์ ศรีนวลเอียด รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทราช โคเจนเนอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อผลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีนายวิเชียร กุ่มเกวียน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากน้อยและประชาชนรับฟังจำนวน 100 คน
โครงการโรงไฟฟ้าพลังนความร้อนร่วม ราช โคเจนเนอเรชั่น มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจาก 114.7 เมกะวัตต์ เป็น 166.95 เมกะวัตต์ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นของทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยเสริมให้ระบบพลังงานในพื้นที่มีความมั่นคง และมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยการขยายกำลังกรผลิตจะมีการติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมภายในพื้นที่โครงการได้แก่ 1.เครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าจากก๊ชธรรมชาติ (Gas Engine) 2.เครื่องกำเนิดไอน้ำ (Heat Recovery Steam Generator; HRSG) 3.หอหล่อเย็น (Cooling Tower) และ 4.หม้อไอน้ำสำรอง (Auxliary Boiler)


นายกานต์ ศรีนวลเอียด รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทราช โคเจนเนอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า รอบนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 เพื่อขอเพิ่มเติมกำลังการผลิต จาก 114.7 เป็น 166.95 เมกะวัตต์ โดยการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อนำความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำไปผนวชกับตัวร่าง ร่างงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานเชื้อเพลิงรูปแบบอื่น ทางโรงงานมีมาตรฐานที่เป็นตัวควบคุมอยู่กับหน่วงงานราชการที่เกี่ยวข้อง มีการจัดประชุมคณะกรรมการการมีความร่วม เพื่อรับรู้รางงานของค่าตรวจตรวจวัดในแต่ละครั้ง รวมถึงมีการตรวจวัดค่าคุณภาพแบบต่อเนื่อง มีการส่งข้อมูลเข้าไปที่กรมโรงงาน ก็จะทราบว่ามีมวลสารตัวไหนที่เกินค่ามาตรฐานได้ทันที
ทางบริษัทราช โคเจนเนอเรชั่น จำกัด มีมาตรการดูและชุมชนในพื้นที่ โดยเราอยู่ได้ชุมชนก็ต้องอยู่ได้ มีการจัดกิจกรรม CSR มีฝ่ายและทีมดูแลด้านชุทมชนโดยเฉพาะ ได้เข้ามาสำรวจพื้นที่โดยรอบ ระยะรัศมี 5 กิโลเมตร ทั้งพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านประชาชนสามารถขอความช่วยเหลือเสนอแนะเพื่อความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อย่างเช่นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้จัดสิ่งของอุปโภคบริโภคเติมตู้ปันสุข ได้ประสานกับหน่วยงานท้องถิ่น