เสวนาปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าส่งผลกระทบต่อคนจน

where is the best place to order Clomiphene online
วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ที่อาคารรัตนคุณากร มหาวิทยาลัยรังสิต เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOHCHR) โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล วิทยาลัยนวัตกรรมสังคมมหาวิทยาลัยรังสิต และภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่ากับผลกระทบต่อคนจน กรณีอุทยานแห่งชาติไทรทอง


Ms.Therese Bjorn สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOHCHR) กล่าวเปิดการเสวนา พร้อม ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และคณาจารย์ ให้การต้อนรับ ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ,ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน , รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา และ ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ เนื่องด้วย มาตรการทวงคืนผืนป่า ตามคำสั่งคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 ประกอบคำสั่ง ที่ 66/2557 กำหนดให้การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้, ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคนจนไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อนจากการถูกจับกุม และดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ


รวมทั้งยังเกี่ยวเนื่องกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การแย่งยึดที่ดิน การไร้ที่ดินทำกิน หรือการบังคับให้ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน ดังนั้นด้วยสถานการณ์เช่นนี้จึงนำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่า ทำอย่างไรที่จะให้มาตรการดังกล่าว ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ และในขณะเดียวก็มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการดูแล ปกป้อง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่า ผ่านการเสวนาจากมุมมองที่หลากหลายทั้งมุมมองสิทธิมนุษยชน มุมมองเชิงนโยบาย และมุมมองทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบความเดือดร้อนอย่างหนักหน่วงต่อชาวบ้านคนจนๆไปทั่วประเทศ เช่น กรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง เข้ามาปฏิบัติการจับกุม และยื่นฟ้องดำเนินคดีกับชาวบ้านซับหวาย ต.ห้วยแย้ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ จำนวน 14 ราย 19 คดี ซึ่งสถานภาพทางคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกจำเลยครบทั้งหมด 14 ราย
อาจารย์สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต กล่าวว่า ทางวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และหลายมหาวิทยาลัยได้ทำงานกับองค์กรภาคประชาชน พบมาตรการทวงคืนผืนป่าของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ออกมาหลังปี 2557 ได้มีการจับกุมชาวบ้านที่เคยมีเรื่องร้องเรียนว่า อุทยานฯมาทับพื้นที่ดินของเขา ควรมาแก้ปัญหาหลังจากปล่อยให้ยาวนานมาหลายรัฐบาล ปัจจุบันมีการใช้มาตรการนี้เข้มข้น มีการจับกุมชาวบ้านทั่วประเทศ โดยเฉพาะเคสที่ทางเราได้หยิบยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติไทรทอง จ.ชัยภูมิ มีชาวบ้านถูกจับกุมจำนวน 14 คน ศาลชั้นต้นชั้นอุทธรณ์ได้ตัดสิน ให้ชาวบ้านติดคุก รวมถึงมีการเรียกค้าเสียหาย เราและชาวบ้านรวมกับองค์กรจำนวน 20 องค์กร มีทั้งองค์กรสหประชาชาติ องค์กรระหว่างประเทศ มีความเห็นว่าชาวบ้านควรได้รับสิทธิในการประกันตัวในชั้นฎีกา หมายถึงให้ศาลยอมรับการฎีกา เพื่อที่ชาวบ้านจะได้การประกันตัว เพื่อให้มีสิทธิต่อสู้คดีต่อ ขณะเดียวกันได้สะท้อนต่อรัฐบาลมีปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ และให้ดูกรณีนี้เป็นตัวอย่าง จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้คือรัฐบาลมีนโยบาลมาจัดการ ไม่ใช่เอาชาวบ้านขึ้นศาลอย่างเดียว เนื่องจากเวลาที่เขาประกาศพื้นที่อุทยานฯมาทีหลังชาวบ้าน โดยกำหนดพื้นที่ขีดวงอาณาเขตโดยไม่ได้ไปสำรวจชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านมีความผิดโดยตลอด ต้องกลับไปทบทวนกฎหมายอุทยานแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งออกมาแล้วค่อนข้างจะมีปัญหา


ด้านนางสาวสุรินทร ม่วงกลาง อายุ 41 ปี ชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อนจากมาตรการทวงคืนผืนป่า กล่าวว่า อยากให้ทบทวนการควงคืนผืนป่า ซึ่งทางครอบครัวได้ทำกินบนพื้นที่มานานกว่า 30 ปี โดยปลูกมันและข้าวโพด หลังจากภาครัฐเข้มงวดมาตรการทวงคืนผืนป่าของรัฐ ทำให้แม่และน้องสาวรวมถึงญาติๆ รวม 6 คน ทำกินบนพื้นที่กว่า 60 ไร่ ถูกจับติดคุก ภาครัฐต้องตรวจสอบด้วยว่าชาวบ้านนั้นได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อนจริงหรือไม่ เมื่อชาวบ้านเกิดความเดือดร้อยภาครับควรที่จะเห็นใจชาวบ้าน ไม่ใช้ว่าจะมาอยากได้ที่ดินของชาวบ้านที่เป็นคนจน แต่คนรวยพวกคุณก็ไม่ไปทวงกับเขาเหล่านั้น ได้แต่ทวงพื้นที่จากคนจนอย่างเรา เท่านั้น…