มจร.จัดการประชุมสัมมนาวิชาการวันสันติภาพสากลเรื่องสติและสมาธิวิถีสู่สันติภาพ

http://blumberger.net/cronlab/.env เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 21 กันยายน 2562 คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี ร่วมประชุมสัมมนาวิชาการวันสันติภาพสากล ภายใต้หัวข้อเรื่อง สติและสมาธิ:วิถีสู่สันติภาพ Mindfulness and Concentration: The Path to Peace โดยมีหลักสูตรสันติศึกษา และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดขึ้นที่ อาคาร มวก.84 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภายในพิธีมีพระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี และกล่าวปาฐกถาเปิดงานในหัวข้อ “สติและสมาธิ: วิถีสู่สันติภาพ ว่า วันสันติภาพโลก ตรงกับ วันที่ 21 กันยายน ของทุกปี จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการหยุดใช้ความรุนแรง ถ้าทุกคนหยุดแม้เพียง 1 นาที ความสันติย่อมเกิดขึ้นแก่โลกแล้ว

วันนี้ทางหลักสูตร นอกจากจะจัดกิจกรรมเพื่อสันติภาพ ยังได้ยกย่องประกาศ เกียรติคุณ ให้แก่ผู้ที่มีส่วนร่วมสำคัญ ในการร่วมจัดทำหลักสูตรตั้งแต่เริ่มต้นก็คือหลักสูตรสันติศึกษา ทั้งระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ร่วมกันสร้างวิศวกรทางสันติภาพให้เกิดขึ้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดสันติภาพ ทั้งทางจุลภาคและมหภาคต่อไป สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ เป็น 2 ระดับ ก็คือสันติภาพภายใน กับสันติภาพภายนอก ทั้งสันติภาพภายในกับสันติภาพภายนอก เป็นปัจจัยที่เอื้อซึ่งกันและกัน สันติภาพภายใน ก็คือทำอย่างไรที่เราจะสร้างสันติภาพ ให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา หลักสูตรสันติศึกษา ก็จะบ่มเพาะนิสิตให้มีความรู้ นำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดสันติภาพทั้งกับตัวเองและสังคม สันติภาพภายในนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราได้สร้าง ให้มันเกิดขึ้นภายในใจของเรา การที่จะนำไปสู่สันติภาพภายในของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนอยู่แล้ว ก็คือหลักพรหมวิหารธรรม ซึ่งเราเรียกว่าเมตตาธรรมเป็นจุดเริ่มต้น ถ้าเราไม่สามารถสร้างเมตตาทำให้เกิดขึ้นในใจของเราได้สันติภาพก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จุดเริ่มต้นซึ่งเป็นพื้นฐาน ของสันติภาพภายในก็คือเมตตาธรรม เมตตาธรรมค้ำจุนโลก เมตตาอย่างเดียวก็ยังไม่พอจะต้องมีกรุณาก็คือสงสาร อย่างที่ต้องการให้เขาพ้นความเดือดร้อน ความทุกข์ ก็คือข้อสำคัญที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ก็คือเมตตากับกรุณานอกจากนี้ยังมีส่วนเพิ่มเติม ก็คือมุฒิตา วันนี้มุฒิตาใครที่สร้างความดีก็ประกาศยกย่อง ทั้งต่อหน้าและลับหลังมีการยกย่องสำหรับผู้ที่สร้างคุณงามความดี
จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บรรยายในหัวข้อ “Mindful Digital: Changing Our life Changing the world : สติดิจิทัล: เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” ถ่ายทอดเรื่องราวในฐานะวิศวกรที่มีส่วนสำคัญในสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่ประเทศไทยหลายเรื่อง โดยรากฐานสำคัญของการออกแบบวัตถุภายนอกได้ ต้องสำเร็จมาจากการออกแบบภายในใจ ซึ่งตัวแปรในการออกแบบภายใน คือ “สติ”และเพราะสติทำให้ ‘สติวิศวกร’ ท่านนี้ นำเอาไปออกแบบจิตใจของท่าน จึงทำให้จิตใจมีพลังแข็งกล้ามากพอ จนสามารถสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนชีวิตพิชิตโลกได้อย่างในปัจจุบัน

ต่อจากนั้นร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตัวแทนครูยุคใหม่ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “กระบวนการผลิตครูให้มีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานที่เอื้อต่อสถานศึกษาในยุคดิจิทัล” โดย คณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษา คณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศ
ปิดท้ายด้วย พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา และ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวสรุป ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำ “สติ” และ “สมาธิ” เป็นพื้นฐานการศึกษาของเยาวชนไทย และความจำเป็นที่จะนำเข้าสู่สถานการศึกษาทั่วประเทศ โดยมีผลการศึกษาวิจัยจากสถานศึกษาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจเป็นเครื่องยืนยัน พร้อมให้สถานศึกษา คณาจารย์จากคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ นำแนวทางไปปรับใช้ให้เกิดสัมฤทธิผลต่อตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศทันที.